เปลี่ยนอาวุธและมีวิธีการโจมตีตามประเภทอาวุธ

ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนอาวุธที่ถืออยู่ในมือได้ และมีพฤติกรรมต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาวุธ ถ้าผู้เล่นกด 1 จะเป็นการปลดอาวุธออก ถ้ากด 2 จะแสดงไม้เท้าเวทย์มนต์ ถ้ากด 3 จะแสดงดาบ ถ้าอยู่ในสถานะอาวุธปืนจะสามารถยิงกระสุนเวทย์ออกไปได้ และถ้าอยู่ในสถานะของมีดจะเป็นการหมุนมีดนั้นลง 90 องศา (ใช้เวลา 0.3 วินาที) แล้วกลับไปอยู่ที่เดิม

สร้างผู้เล่นที่จุดเกิด

การสร้างระบบจุดเกิด (Spawn Point) สำหรับผู้เล่นในเกม Unity เป็นเรื่องพื้นฐานแต่สำคัญ ตัวอย่างนี้แสดงวิธีการกำหนด จุดเกิด (Spawn Point) ของผู้เล่นในฉาก และทำการสร้างผู้เล่นหลังจากผ่านไป 1 วินาที

Ep 5 : LINQ

LINQ (Language Integrated Query) เป็นฟีเจอร์ของ C# ที่ช่วยให้เราสามารถเขียนโค้ดที่จัดการกับข้อมูลในรูปแบบของ Collection, Database, XML, หรือ Object ได้อย่างมีประสิทธิภาพและอ่านง่ายขึ้น

Ep 4 : Vector และ Matrix

เวกเตอร์และเมทริก์์เป็นวิธีการที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการคำนวณทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ เช่น การย้ายตำแหน่ง การปรับขนาด การหมุนและการแปลงพิกัดของวัตถุและการแสดงผลของภาพ โดยสไลด์ในบทความนี้จะอธิบายคณิตศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังของการทำงานคลาส Vector และ Matrix ของ Unity

Ep 3 Part2 : Visual Studio 2022

การพัฒนาโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์จำเป็นต้องมีเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อให้กระบวนการพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ในปัจจุบันมีเครื่องมือและสิ่งแวดล้อมให้เลือกใช้มากมาย แต่เครื่องมือที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ Visual Studio ของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งเป็น IDE (Integrated Development Environment) ที่ครบวงจรและได้รับความนิยมอย่างมากจากนักพัฒนา Microsoft เนื่องจากมีฟีเจอร์ที่หลากหลาย รองรับภาษาโปรแกรมมากมาย และมีเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชันประเภทต่างๆ เช่น บรรณาธิการโค้ด (Editor) คอมไพเลอร์ ดีบักเกอร์ (Debugger) และเครื่องมือสร้างโปรแกรมติดตั้ง (Installer)

EP 3 C# Script Unity101

Unity ใช้ C# เป็นภาษาหลักในการพัฒนาสคริปต์เพื่อควบคุมการทำงานต่าง ๆ ในเกม เช่น การควบคุมตัวละคร, การโต้ตอบกับวัตถุ, และการจัดการการเล่นเกม สำหรับบทความนี้จะกล่าวถึงการสร้างสคริปต์เพื่อใช้ร่วมกับ Unity และผนวกสคริปต์เข้ากับ GameObject อันเป็นวัตถุพื้นฐานของ Unity โดยใช้ตั้วอย่างการเคลื่อนของวัตถุ หรือผู้เล่น ให้รองรับการเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ขวา หน้า และหลัง

C# EP2

จากบทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงประวัติภาษา C# ตัวแปร และการใช้เครื่องหมายดำเนินการพร้อมตัวอย่างการเขียนโค้ดเบื้องต้นไปแล้ว อันจะพบได้ว่า หลักการทำงานของโค้ดที่เขียนนั้นเป็นการทำงานจากบรรทัดบนลงบรรทัดล่าง โดยทำงานทีละคำสั่ง (แต่ละคำสั่งปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย ; ) ในบทความตอนที่ 2 เป็นขั้นที่สูงขึ้น คือ เรียนรู้เกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของโค้ดที่เขียนกรณีที่ต้องตัดสินตามเงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบเพื่อให้แยกโค้ดสำหรับทำงานแต่ละกรณี การทำซ้ำเพื่อให้สามารถประมวลผลแถวลำดับ (Array) หรือทำสิ่งซ้ำเดิมเป็นจำนวน N ครั้ง หรือตามสภาพของการเปรียบเทียบ และการสร้างโปรแกรมย่อยเพื่อแยกโค้ดการทำงานให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

การเคลื่อนที่ #1

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโค้ด C# เพื่อขยับวัตถุวงกลมในหน้าจอให้เดินหน้า ถอยหลัง และกระโดด ตามลักษณะพื้นฐานของเกมแบบแพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายตัวอย่างที่นำมาใช้ในการสอนวิชาการสื่อสารข้อมูลฯ สำหรับพัฒนาเกมแบบผู้เล่นหลายคน

Hosting Unity WebGL game on the sever

บทความนี้กล่าวถึงการนำตัวเกมที่พัฒนาจาก Unity ในลักษณะของ WebGL ขึ้นไปไว้บนเซิฟเวอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Ubuntu ใน Google compute engine

การพัฒนาเกมด้วยโปรแกรม Unity เราสามารถที่จะสร้างเกมเพียงครั้งเดียวและสร้างตัวเกมในหลายระบบได้ ไม่ว่าจะเป็น Windows, Android หรือเว็บ เป็นต้น ก่อนที่เราจะนำเกมของเราขึ้นเซิฟเวอร์ได้ต้องทำการปรับเปลี่ยน build target เป็น WebGL เสียก่อน โดยเข้าที่ File > Build Settings และเลือก Platform เป็น WebGL ดังภาพที่ 1