[TH] ESP32 & NEO-6MV2 GPS Module

บทความนี้เป็นการใช้ ESP32 เชื่อมต่อกับโมดูลจีพีเอสผ่านทางพอร์ตสื่อสารอนุกรมลำดับที่ 2 ของ ESP32 เพื่ออ่านข้อมูลและแสดงผลข้อมูลที่ได้รับจากโมดูลจีพีเอส และแสดงความหมายที่อ่านได้ โดยตัวอย่างโปรแกรมที่ 1 เป็นการอ่านค่าจากโมดูลจีพีเอส และตัวอย่างที่ 2 เป็นการแสดงสารสนเทศที่อ่านได้จากโมดูลจีพีเอสเพื่อให้ผู้อ่านได้นำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ภาพที่ 1 โมดูลจีพีเอส NEO-6MV2

[TH] Reading the Accelerator sensor with raspberry pi via I2C Bus.

บทความนี้เป็นการนำโมดูลเซ็นเซอร์การเคลื่อนที่ หรือการขยับใน 3 แกนแบบดิจิทัลที่ใช้ไอซี MMA7660FC ที่ได้เขียนถึงในบทความก่อนหน้านี้มาติดตั้งกับบอร์ด Raspberry Pi และเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนเพื่อเชื่อมต่อและอ่านค่ามาแสดงผล

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 and 3-Axis Digital Accelerometer

บทความนี้แนะนำการใช้เซ็นเซอร์การเคลื่อนที่ หรือการขยับใน 3 แกนแบบดิจิทัลที่ใช้ไอซี MMA7660FC ซึ่งทำให้เราทราบว่าโมดูลนี้ขยับไปทางซ้าย/ขวา หน้า/หลัง หรือบน/ล่าง หรือเกิดการหมุนซ้าย/ขวา หน้า/หลัง และบน/ล่าง โดยในบทความได้สร้างไลบรารีเพื่อเปิดการทำงานของเซ็นเซอร์ กำหนดอัตราการทำแซมปลิง (sample rate) และทำการแปลงค่าที่ได้จากโมดูลมาแสดงผล

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 and I2C LCD 16×2

บทความนี้เป็นการเขียนไลบรารีเพื่อสั่งงานโมดูลแอลซีดีตัวอักษรโดยใช้การสั่งงานผ่านบัส I2C ซึ่งเลือกใช้โมดูล PCF8574 ที่ออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับแอลซีดี ทำให้สามารถใช้ขาสั่งงาน 2 ขาจาก ESP8266 ต่อสั่งงานโมดูลแอลซีดีได้ 8 ขา คือ RS, R/W, EN, A, D0, D1, D2 และ D3 พร้อมทั้งสามารถเปิด/ปิดการใช้แสงส่องหลังโมดูลแอลซีดีและปรับความชัดของตัวอักษรของโมดูลแอลซีดีได้จากตัวต้านทานปรับค่าได้ที่อยู่บนโมดูล PCF8574

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266 RoboCar+Ultrasonic Sensor

บทความนี้เป็นตัวอย่างการนำหุ่นยนต์รถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์แบบเซอร์โวดังที่กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้มาใช้งาน โดยในบทความนี้ใช้การเคลื่อนที่ด้วยการกำหนดกฎการเคลื่อนที่ภายใต้การตัดสินใจเรื่องระยะทางที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์วัดระยะทางอย่าง Ultrasonic Sensor

ภาพที่ 1

[TH] ESP8266+RoboServo

บทความนี้เป็นตัวอย่างการเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนเพื่อสั่งงานมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่เรียกว่าเซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor) และเมื่อนำเซอร์โวมอเตอร์มาขับเคลื่อนล้อทางด้านซ้ายและขวาทำให้สามารถทำงานเป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยล้ออย่างง่าย ๆ ได้ นอกจากนี้ ตัวอย่างโปรแกรมของบทความนี้ เป็นการสั่งงานการเคลื่อนที่หุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยล้อเพื่อสั่งเดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา และหยุด

ภาพที่ 1

[TH] Hi, MaixPy

บทความนี้เป็นบทความแนะนำคุณสมบัติของบอร์ด Sipeed M1w dock suit ซึ่งเป็นบอร์ดที่ออกแบบมาเพื่อประมวลผล AI บนอุปกรณ์ Edge ทำให้งาน IoT รองรับการประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ได้ โดยใช้ขิพ KPU K210 เป็นสมองหลักของการประมวลผล

ภาพที่ 1